สุภาษิตไทย

ฆ่าควายเสียดายพริก หมายถึง

ฆ่าควายเสียดายพริก

อ่านว่า ค่า-คฺวาย-เสีย-ดาย-พฺริก

 

ที่มาของสำนวน ฆ่าควายเสียดายพริก

ในวิถีชาวบ้าน เมื่อจัดงานเลี้ยง งานมงคลก็จะต้องมีอาหารการกิน ทีนี้การฆ่าวัว ฆ่าควายซึ่งมีมูลค่าสูงเพื่อจะนำเนื้อมากิน แต่ถ้าหากกลัวว่าจะใช้น้ำพริกมาก กลายเป็นว่าแทนที่จะอร่อยกลับไม่อร่อย จึงเป็นที่มาของสำนวนนี้

 

ฆ่าควายเสียดายพริก หมายถึง

การคิดจะทำการใหญ่ แต่กลัวว่าจะสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย มัวแต่คิดเล็กคิดน้อยจนทำให้เสียงานเสียได้

 

ฆ่าควายเสียดายพริก เป็นสุภาษิต หรือ สำนวนไทย?

ฆ่าควายเสียดายพริก เป็นสำนวนไทย เพราะมีความหมายแฝงต้องใช้การวิเคราะห์ตีความจึงจะเข้าใจว่า ฆ่าควายเสียดายพริกแล้วยังไงต่อ?

ก็ตามด้านบนที่เล่ามา ควายมีมูลค่าสูงกว่าพริกมากหลายเท่าตัว มามัวแต่เสียดายพริก กลายเป็นว่าได้กินอาหารที่ไม่อร่อยแทน

 

สำนวนไทยที่มีความหมายเหมือนหรือใกล้เคียงกับ ฆ่าควายเสียดายพริก เช่น

  • ฆ่าควายเสียดายเกลือ
  • ฆ่าควายอย่าเสียดายพริก

 

ตัวอย่างของสำนวนไทย ฆ่าควายเสียดายพริก

ลงทุนซื้อรถมาตั้งแพง แต่กลับไม่ซื้อประกันชั้นนึง พอเกิดเรื่องก็ต้องควักเงินจ่ายเองหมด แบบนี้เข้าตำรา "ฆ่าควายเสียพริก"

 

โคลงสุภาษิตประจำภาพในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม อธิบายความหมายว่า

ฆ่ากระบือแล้วคิด        เสียดาย
ซึ่งพริกขิงทั้งหลาย     หลากแท้
หวนจิดคิดกลับกลาย   เป็นอื่น
คนจักเตียนติแส้        ชั่วสิ้นสูญชนม์