สุภาษิตไทย

คำสุภาษิต

พูดไปสองไพเบี้ยนิ่งเสียตำลึงทอง

หมายถึง คำพูดบางครั้งหากพูดออกไปอาจจะก่อให้เกิดผลเสียต่อตนเองหรือคนรอบข้าง หากอยู่เฉย ๆ ไม่พูดอะไรออกไปยังจะก่อเกิดผลลัพธ์ที่ดีกว่า

ที่มา เปรียบเปรยถึง การรอรับของรางวัลจากผู้มีอำนาจ หากพูดสิ่งที่ไม่มีประโยชน์ออกไปหากได้รางวัลก็จะได้เพียงเบี้ยจำนวนน้อยนิด แต่หากไม่พูดอะไรไปอยู่นิ่ง ๆ ก็จะไม่มีใครทราบข้อบกพร่องที่มีอยู่ ก็จะได้รางวัลมากกว่าเป็นตำลึงทอง

หมายถึง พูดไปไม่มีประโยชน์ นิ่งเสียดีกว่า

 หมายเหตุ

คำสุภาษิต หรือ สำนวนสุภาษิต คือ คำในภาษาไทยที่ใช้ในการสื่อสารเชิงเปรียบเทียบอุปมาอุปมัย มักมีความหมายในการตักเตือนสั่งสอนในทางบวก มีความหมายที่ดี เช่น รักยาวให้บั่นรักสั้นให้ต่อ น้ำเชี่ยวอย่าขวางเรือ

สำนวนไทย หมายถึง ถ้อยคำ กลุ่มคำ หรือประโยคที่ไม่ได้แปลความหมายตรง ๆ แต่มีความหมายเชิงเปรียบเทียบแฝงอยู่ เช่น สอนจระเข้ให้ว่ายนํ้า รำไม่ดีโทษปี่โทษกลอง

คำพังเพย หมายถึง ถ้อยคำหรือข้อความที่กล่าวเป็นกลาง ๆ เพื่อให้ตีความเข้ากับเรื่อง มีความหมายแฝงอยู่ อาจเป็นคำที่ใช้สื่อในทางเปรียบเปรย หรือในทำนองเสียดสี เช่น กระต่ายตื่นตูม เสียน้อยเสียยากเสียมากเสียง่าย

 ภาพประกอบ

  • คำสุภาษิต: พูดไปสองไพเบี้ยนิ่งเสียตำลึงทอง หมายถึง?, หมายถึง คำพูดบางครั้งหากพูดออกไปอาจจะก่อให้เกิดผลเสียต่อตนเองหรือคนรอบข้าง หากอยู่เฉย ๆ ไม่พูดอะไรออกไปยังจะก่อเกิดผลลัพธ์ที่ดีกว่า ที่มา เปรียบเปรยถึง การรอรับของรางวัลจากผู้มีอำนาจ หากพูดสิ่งที่ไม่มีประโยชน์ออกไปหากได้รางวัลก็จะได้เพียงเบี้ยจำนวนน้อยนิด แต่หากไม่พูดอะไรไปอยู่นิ่ง ๆ ก็จะไม่มีใครทราบข้อบกพร่องที่มีอยู่ ก็จะได้รางวัลมากกว่าเป็นตำลึงทอง คำนาม คน คำกริยา ตำ ธรรมชาติ ทอง
  • คำสุภาษิต: พูดไปสองไพเบี้ยนิ่งเสียตำลึงทอง หมายถึง?, หมายถึง พูดไปไม่มีประโยชน์ นิ่งเสียดีกว่า คำกริยา ตำ ธรรมชาติ ทอง

 คำสุภาษิตที่คล้ายกัน

ชักใบให้เรือเสีย ตีปลาหน้าไซ ปิดทองหลังพระ พูดเป็นต่อยหอย สองฝักสองฝ่าย สิบเบี้ยใกล้มือ อย่าเอาทองไปลู่กระเบื้อง เก็บเบี้ยใต้ถุนร้าน เบี้ยบ้ายรายทาง เรือล่มในหนองทองจะไปไหน เสียทองเท่าหัวไม่ยอมเสียผัวให้ใคร เสียน้อย เสียยาก เสียมาก เสียง่าย

หาคำศัพท์ไม่เจอ หรือยังไม่เห็นคำที่ต้องการ?

ช่วยแนะนำคำใหม่ให้เราสิ
แจ้งเพิ่มคำ

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "พูดไปสองไพเบี้ยนิ่งเสียตำลึงทอง"

 สุภาษิตไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ

 บทความอื่น ๆ จาก "สุภาษิตไทย"